โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

ถึงเวลา “เปลี่ยน” ระบบคิดด้านการศึกษา ด้วยคนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน (2)

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

          จุดยืนของมหาวิทยาลัยราชภัฎ ในฐานะคนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน ที่ลุกขึ้นมาทำหน้าที่มหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่นอย่างแท้จริงก็คือ การยืนหยัดขึ้นมาสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของเราเอง เป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างให้เกิดความภาคภูมิใจในจุดยืนของเรา ในจุดเด่นของท้องถิ่น เป็นสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนที่เอื้อให้ลูกหลานได้ทำหน้าที่สานต่ออาชีพของบิดา มารดา ให้กลับไปเป็นกำลังพัฒนาท้องถิ่น แทนที่จะเป็นสถาบันการศึกษาที่สอนให้คนทิ้งบ้าน ทิ้งแผ่นดิน มุ่งหวังมาหาความก้าวหน้าในหน้าที่การงานโดยหลงลืม ละเลย พ่อแม่ พี่น้องไว้ข้างหลัง อย่างทุกวันนี้

          หนึ่งในกลไกที่สร้างขึ้นมาเพื่อกำหนดบทบาทของมหาวิทยาลัย คือ สภามหาวิทยาลัย ซึ่งมีหน้าที่ในการกำหนดทิศทางของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย จากนั้นกระบวนการสรรหาอธิการบดีก็เข้ามาสอดรับกับกระบวนการดังกล่าว โดยให้ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกอธิการบดีนำเสนอนโยบายการบริหารภายใต้กรอบทิศทางของสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยก็จะมีทิศทางที่ชัดเจนและเดินไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง ตรงทิศ แต่หากให้อธิการบดีเสนอและกำหนดนโยบายเองก็อาจทำให้ทิศทางของมหาวิทยาลัยเบี่ยงเบนไปได้เมื่อเปลี่ยนแปลงอธิการบดี จึงเป็นที่น่ายินดีว่า การคัดเลือกอธิการบดีของมหาวิทยาลัยราชภัฎ พิบูลสงคราม และมหาวิทยาลัยราชภัฏ สงขลา ได้ใช้กระบวนการนี้เข้ามาดำเนินการ จนได้อธิการบดีใหม่ที่มีนโยบายสอดคล้อง และมีความเข้าใจอย่างแท้จริง หนึ่งคือ ดร.สาคร สร้อยสังวาลย์ อธิการบดีคนใหม่ของมหาวิทยาลัยราชภัฎ พิบูลสงคราม และสองคือ ผศ.ดร.ไพโรจน์ ด้วงวิเศษ อธิการบดีของมหาวิทยาลัยราชภัฏ สงขลา
          ทั้งสองมหาวิทยาลัยมีความเข้าใจว่าจะต้องเริ่มจากเข้าใจพื้นที่ของตัวเองก่อน มหาวิทยาลัยราชภัฏ สงขลาต้องมีความรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์ของเมืองสงขลา ต้องเข้าใจวิถีชีวิตและความสำคัญของทะเลสาบสงขลา ทำหน้าที่ธำรงรักษาวิถี วัฒนธรรมดั้งเดิมเอาไว้เพราะนั่นคือรากเหง้าของเรา มหาวิทยาลัยราชภัฎ พิบูลสงครามก็ต้องเข้าใจพื้นที่ตัวเองและเริ่มพัฒนาจากภายใน ไปหาชุมชนเช่นกัน จากวันนี้ไปอาจารย์ยักษ์อยากให้จับตาดูทิศทางของมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งแล้วจะเห็นความเปลี่ยนแปลง เห็นจุดเปลี่ยนของท้องถิ่น ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคต
          หนึ่งในตัวอย่างของการเข้าใจในท้องถิ่นของตนเองที่อาจารย์ยักษ์อยากยกตัวอย่างให้เห็นชัด คือ เรื่องราวของชาวชุมชนตำบลวังตะกรอ อ.หลังสวน จ.ชุมพร ซึ่งมีผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ปลูกผลหมาก รากไม้ ได้ผลผลิตดี มีรสชาติหวานอร่อยจนเป็นที่ติดใจ ผลไม้จากหลังสวนเคยมีชื่อเสียงมาช่วงหนึ่ง จนชาวบ้านเริ่มเปลี่ยนแปลงการปลูกผลไม้ไปเป็นการปลูกปาล์ม ต้นมังคุด ลองกอง จำนวนมากจึงถูกโค่นล้มลง ตามความเชื่อเรื่องการปลูกผลผลิตพืชเชิงเดี่ยวเพื่ออุตสาหกรรม การทำสวนแบบสมรมก็หายไปกลายเป็นการถางป่าปลูกปาล์ม ชื่อเสียงของผลไม้หลังสวนก็หายไปเช่นกัน จนเมื่อหลายสิบปีก่อนหน้านั้น ชาวบ้านหลังสวนกลุ่มหนึ่ง นำโดยกำนันเคว็ด ประวิช ภูมิระวิ ตระหนักถึงรากเหง้าของตนเอง หันมารวมกลุ่มกันอนุรักษ์ไม้ผลเก่าๆ เอาไว้ แม้ว่าจะขายไม่ได้ราคา ราคาตกต่ำ ก็ไม่ยอมโค่นทิ้ง ยอมสู้ทนทำไปเพราะเชื่อว่านี่คือรากเหง้าของชาวหลังสวน โดยเฉพาะมังคุดหลังสวนที่เป็นเอกลักษณ์ จนต้นมังคุดอายุเกินกว่า 100 ปี สูงใหญ่เกินสิบเมตรมีหลายสิบต้น บางต้นเกินกว่า 200 ปีก็มี การเก็บผลผลิตก็เป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะต้องใช้คนที่มีความชำนาญ ปีนขึ้นไปปลิดทีละลูก สูงก็สูง เสี่ยงก็เสี่ยง แถมเอาลงมาแล้วก็ขายไม่ได้ราคาเพราะผลผลิตมังคุดออกมามาก ราคาตก แม้จะเป็นมังคุดอินทรีย์ 100% มีคุณค่าสูง เพราะต้นอายุมาก รสชาติก็หวานดีแต่ก็ทำได้แค่ขายปนไปกับมังคุดเคมี ราคาก็ตกลงเรื่อยๆ พวกเขาก็ยังเฝ้าทน
          จนปีนี้ มีหลายฝ่ายเข้ามาร่วมมือกันส่งเสริมคุณค่าของมังคุดหลังสวน นำมังคุดร้อยปี แยกออกจากมังคุดเคมี นำมาสร้างมูลค่าเพิ่ม จัดเทศกาลจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลหลายสาขา ขายดิบ ขายดี เกษตรกรก็ได้รายได้ ลูกหลานเกษตรกรก็ขึ้นมาขายมังคุดจากสวนตนเองมีอาชีพ มีรายได้ สิ่งเหล่านี้แหละที่ระบบการศึกษาแบบเดิมๆ ไม่ได้สอน เราจึงไม่มีเกษตรกรรุ่นใหม่มาสืบทอด หมดรุ่นนี้แล้วคงไม่มีสิ่งดีๆ แบบนี้ให้เห็นอีก แต่ถ้ามหาวิทยาลัยท้องถิ่นอย่างราชภัฏหันมาศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง พัฒนาและต่อยอด มังคุด 100 ปี ก็คงจะมีให้ได้กินกันทุกปีและมีงานวิจัยรับรองอย่างเป็นเรื่องเป็นราว สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ บนภูมิปัญญาและรากฐานของเรา พลิกกลับไปสู้ตะวันตกได้ด้วยสิ่งที่เป็นเราอย่างแท้จริงนี่แหละ
แหล่งที่มา: 
พอแล้วรวย คมชัดลึก ฉบับวันเสาร์ที่ 8 ก.ย..2555