โพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยของ "พ่อ"
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง

ติดต่อเรา

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
เลขที่ ๑๑๔ ซอย บี ๑๒ หมู่บ้านสัมมากร สะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๐๒๔๐
สำนักงาน ๐๒-๗๒๙๔๔๕๖ (แผนที่)
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง 038-198643 (แผนที่)


User login

จิตวิทยาแห่งความพอเพียง 2

  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_argument::init() should be compatible with views_handler::init(&$view, $options) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_argument.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_validate() should be compatible with views_handler::options_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter::options_submit() should be compatible with views_handler::options_submit($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_term_node_tid::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/modules/taxonomy/views_handler_filter_term_node_tid.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_style_default::options() should be compatible with views_object::options() in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_style_default.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_validate() should be compatible with views_plugin::options_validate(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Declaration of views_plugin_row::options_submit() should be compatible with views_plugin::options_submit(&$form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/plugins/views_plugin_row.inc on line 0.
  • strict warning: Non-static method view::load() should not be called statically in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/views.module on line 879.
  • strict warning: Declaration of views_handler_filter_boolean_operator::value_validate() should be compatible with views_handler_filter::value_validate($form, &$form_state) in /home/agrinatu/domains/agrinature.or.th/public_html/sites/all/modules/views/handlers/views_handler_filter_boolean_operator.inc on line 0.

จิตวิทยาแห่งความพอเพียง 2

เมื่อลัทธิ “บริโภคนิยม” กำลังครอบงำชีวิตผู้คน และเมื่อสังคมยอมให้ลัทธิ “บริโภคนิยม” เป็นตัวกำหนด “จิต” ของมนุษย์ สิ่งที่เราจะได้พบอย่างไม่ต้องสงสัยคือ อัตราการเป็นหนี้เป็นสินที่เพิ่มสูงขึ้น อัตราการฆ่าตัวตาย อัตราการหย่าร้าง และความขัดแย้งในครอบครัวที่สูงขึ้น รวมทั้งความผิดปกติทางจิตชนิดต่างๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรคหวาดระแวง โรควิตกจริต ทั้งหมดเป็น “อาการ” ที่สะท้อน “ความไม่พอดี” ของสุขภาพสังคม คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “อาการป่วย” ที่ว่ามาทั้งหมดนี้เกิดขึ้นแล้วในสังคมไทย และกำลังเป็นไป พร้อมกับมีอาการที่มากขึ้น รุนแรงขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง นอกจากสุขภาพ “กาย”ที่ทรุดโทรมแล้ว เรายังมีสุขภาพ “ใจ” ที่ย่ำแย่อีกด้วย

“มโนปุบพัง คมาธรรมมา มโนเสฏฐา มโนมยา” หรือที่เราเข้าใจเป็นภาษาชาวบ้านว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว บ่งบอกความสัมพันธ์ของใจกาย แต่ใจเป็นประธานนำ ในการรักษา “โรคทางสังคม” ก็ต้องใช้หลักเดียวกันคือเอา “จิต” นำ โดยการสร้าง “จิตที่พอเพียง” ให้เป็นหลักในการดำรงชีวิต แล้วอาการป่วยต่างๆ ก็จะค่อยๆ ทุเลาแล้วหายไปในที่สุด องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้รู้แจ้งเห็นจริงในสัจจะข้อนี้พร้อมกับเสนอมรรควิธีในการสร้าง “จิตที่พอเพียง” โดยหลักทางสายกลาง 8 ประการที่ชาวพุทธรู้จักกันในชื่อที่เรียกว่า มรรค 8

1 เห็นชอบ สัมมาทิฐิ
2 ดำริชอบ สัมมาสังกัปปะ
3 เจรจาชอบ สัมมาวาจา
4 การงานชอบ สัมมากัมมันตะ
5 เลี้ยงชีพชอบ สัมมาอาชีวะ
6 พยายามชอบ สัมมาวายามะ
7 ระลึกชอบ สัมมาสติ
8 ตั้งจิตมั่นชอบ สัมมาสมาธิ

หากปล่อยให้มนุษย์ดำเนินไปตามการเรียกร้องของ “กิเลส” มนุษย์ก็จะพบ จุดจบ อย่างไม่ต้องสงสัย เพราะอันว่า “กิเสส” นั้นสนองได้ไม่มีที่สิ้นสุด แต่ “ทรัพยากร” ที่จะนำมาสนอง “กิเลส” นั้นมีที่สิ้นสุด และหมดสิ้น เมื่อความต้องการมีมากแต่ของที่จะสนองความต้องการมีน้อย หรือ ไม่มี ก็จะนำมาซึ่งการแย่งชิงฆ่าฟัน เอารัดเอาเปรียบเบียดเบียนไปทุกหย่อมหญ้า ดังที่ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ และการ “ล่าอาณานิคม” เพื่อแย่งชิงทรัพยากร ของประเทศเจ้าอาณานิคมไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน ปอร์ตุเกส ฮอลล์แลนด์ ก็บ่งบอกถึงสัจจธรรมในข้อนี้ แต่มนุษย์เหนือกว่าสัตว์ที่ “จิต” สามารถยกระดับและพัฒนาได้ มรรค 8 อันเป็นทางสายกลางจึงเป็นยุทธวิธีในการพัฒนาจิตที่พอเพียงของชาวพุทธ ซึ่งจะเป็นหนทางให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่อย่างมีเกียรติ สงบ สันติ และพ้นจากทางหายนะ

ขอยกเอาตัวอย่างขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในการใช้มรรค 8 เพื่อแก้ปัญหาความทุกข์ยากของพสกนิกร พระองค์ท่านเริ่มต้นด้วย “สัมมาทิฐิ” ที่ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตร การผลิตอาหารเลี้ยงผู้คน เลี้ยงโลก เป็นสิ่งที่น่าสรรเสริญยกย่อง สัมมาทิฐิที่จะสร้างพื้นฐานเพื่อให้เกษตรกรมีพออยู่ พอกิน พอใช้ จึงก่อให้เกิด สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ เป็นความตั้งใจที่จะสร้างสิ่งต่างๆ ให้พร้อมสำหรับอาชีพการผลิตอาหารของเกษตรกร โครงการต่างๆ ที่สะท้อนสัมมาสังกัปปะของพระองค์ท่านจึงมีมากมาย ถึงสามพันกว่าโครงการ แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือการสร้างสัมมาทิฐิให้เกิดขึ้นในหมู่เกษตรกรให้เดินทางมรรค 8 นี้เช่นกัน เริ่มตั้งแต่การมีสัมมาทิฐิในวิถีผลิต การดูแลพระแม่ธรณี แม่โพสพ ไม่ใช้ปุ๋ย ใช้ยา ฆ่าดิน ฆ่าหญ้า มีสัมมาทิฐิในการดำรงชีวิต พออยู่ พอกิน พอใช้ เมื่อผลิตได้อาหารแล้วอันดับแรกคือให้ตนเองและครอบครัวมีกิน มีใช้ มีอยู่ก่อนเป็นเบื้องต้น จากนั้นก็เผื่อแผ่ไปยัง ผู้มีบุญคุณ ครูบาอาจารย์ พระสงฆ์องค์เจ้า และเผื่อแผ่ต่อไปยังผู้ที่อ่อนแอกว่า เช่น เด็ก คนแก่ คนพิการ รวมทั้งบุคคลที่ไร้ความสามารถไม่สามารถผลิตอาหารได้ด้วยตนเองได้ เมื่อมีเหลือจึงแปรรูปอาหารเก็บไว้ในยามจำเป็น หรือในฤดูกาลที่ผลิตอาหารไม่ได้ หากมีเหลือสุดท้ายจึง “ขาย” เพื่อแลกเป็นเงิน สัมมาทิฐิของชาวพุทธจึงมี “เงิน” เป็นสิ่งจำเป็นสุดท้าย เมื่อคิดตรงทาง ความตั้งใจก็จะตรง และ กริยา การกระทำ คำพูด และอาชีพที่ประกอบก็จะตรงตามใจที่ตรงไปด้วย เมื่อดำรงชีวิตที่ตรงทางทุกวันจนเกิดเป็นนิสัย สติที่รับรู้ก็ตรง ไม่เฉไฉไปตามกระแส จิตที่ตรงแน่วแน่ ก่อเกิดเป็นสติรับรู้ที่ตรงแน่วแน่ ก่อเกิดเป็นสมาธิที่ตั้งมั่น และแน่วแน่ ทั้งหมดนี้เราสามารถรับรู้ด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่า มรรค 8 ไม่เพียงแต่เป็นกลวิธีที่จะพัฒนาตนไปสู่ความพอเพียงที่ก่อให้เกิดปัญญาและความสุขแท้ ยังนำพาสังคมไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน อันเป็นจุดหมายปลายทางที่มนุษยชาติทั้งโลกกำลังเรียกร้องต้องการ มรรค 8 จึงสามารถสร้าง “ตน” ที่พอเพียงและสร้าง”โลก” ที่เพียงพอได้

แหล่งที่มา: 
คม ชัด ลึก 23 กุมภาพันธ์ 2551